Child Right (อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก)  

อนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยสิทธิเด็ก  เป็นสนธิสัญญาเกี่ยวกับสิทธิมนุษยชนซึ่งกำหนดสิทธิในทางพลเมืองการเมือง เศรษฐกิจ สังคม สุขภาพ และวัฒนธรรม ของเด็ก โดยนิยามว่า
เด็ก คือ มนุษย์คนใด ๆ ที่มีอายุต่ำกว่า 18 ปี เว้นแต่บรรลุนิติภาวะเสียก่อนตามกฎหมายในประเทศนั้น ๆ โดยเนื้อหาเป็นเรื่องของการที่จะทำให้บุคคลหนึ่งได้มีชีวิตอย่างเต็มภาคภูมิ อย่างเต็มศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ มีความเป็นพลเมือง แล้วก็อยู่อย่างมีความสุข ในความเป็นอยู่ที่ดี เพราะจะทำให้การพัฒนาประเทศของแต่ละที่ถูกก้าวไปอย่างที่มีความรับผิดรับชอบร่วมกัน

อนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยสิทธิเด็ก มีการลงนามเยอะที่สุดในอนุสัญญาในระดับสหประชาชาติ ซึ่งแสดงให้เห็นว่าในหลายประเทศให้ความสำคัญด้านเด็ก ซึ่งประเทศไทยก็ลงนามมานานกว่า 30 ปีแล้ว แต่ปัญหาการเข้าถึงสิทธิขั้นพื้นฐานของเด็ก เช่น เรื่องสุขภาพยังคงมีเด็ก
ไม่ได้รับสิทธิขั้นพื้นฐานในเรื่องนี้ 

            ความหมายที่สำคัญในเรื่องของสิทธิเด็ก คือ ผู้ทรงสิทธิ์ ซึ่งหมายถึงเด็ก และ ผู้ที่มีหน้าที่รับผิดชอบต่อสิทธิเด็ก คือ ผู้ที่มีหน้าที่รับผิดรับชอบในการเคารพคุ้มครองและเติมเต็มสิทธิ สิทธิเด็กเป็นสิทธิมนุษยชน จะมีความเป็นสากล เป็นของทุกคนจะแยกกันก็ไม่ได้ พรากออกไปจากเราก็ไม่ได้ เช่น สิทธิของการมีชื่อ สิทธิของการเกิด สิทธิของการที่เราจะได้รับการทำให้เรา
มีชีวิตรอด เป็นต้น

หลักการพื้นฐาน 4 ประการของสิทธิเด็ก คือ อยู่รอดและได้รับการพัฒนา ประโยชน์สูงสุดต่อเด็ก มีส่วนร่วม และไม่เลือกปฏิบัติ โดยเด็กทุกคนควรได้รับหลักการพื้นฐานทั้ง 4 ประการ

3 เสาหลักของการทำงานสิทธิเด็ก ประกอบด้วย 

เสาหลักที่ 1 การจัดบริการหรือกิจกรรมที่ลดการละเมิดและลดช่องว่างของสิทธิ ซึ่งรวมถึงกิจกรรมการดูแลของพ่อแม่ 

เสาหลักที่ 2 สร้างความเข้มแข็งและศักยภาพของผู้มีหน้าที่รับผิดรับชอบ (นโยบาย, ระเบียบปฏิบัติ, กฎหมาย, วิธีการดูแล และปฏิบัติต่อเด็ก) ซึ่งหมายถึงพ่อแม่ ผู้ดำเนินนโยบาย หรือผู้ปฏิบัติงาน

เสาหลักที่ 3 สร้างความเข้มแข็ง ความเข้าใจ และศักยภาพของเด็ก ๆ และผู้ดูแลที่ใกล้ชิด
เด็ก ๆ และภาคประชาสังคม เพื่อเรียกร้องและให้รับผิดชอบต่อสิทธิของเด็ก

สิ่งที่ผู้ใหญ่จะต้องเข้าใจคือ มันไม่ใช่เป็นเรื่องแค่ว่า เด็ก ๆ จะได้รับสิ่งที่ดีขึ้นหรือปกป้อง
ตัวเองได้ดีขึ้น แต่หมายถึงว่า ตัวเราเองก็สามารถที่จะปกป้องตัวเองจากสิ่งที่เข้ามากระทบ
แล้วจะทำให้ตัวเราเองเดินไปในการวางแผน หรือสร้างวัฒนธรรม สร้างสิ่งแวดล้อมที่ดี
และวางแผนการปฏิบัติงานของเด็กได้อย่างดีมากขึ้น

หากท่านใดอยากทำความรู้จักกับ “อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก” ให้มากขึ้น สามารถเข้าไปอ่านรายละเอียดเพิ่มเติม ได้ที่ https://oscc.consulting/media/175

เอกสารอ้างอิง

อิสราภรณ์ ดาวราม. (2566). Child Right (อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก). สืบค้น 27 สิงหาคม 2566, จาก https://oscc.consulting/media/175