วิธีการเลี้ยงดูลูกของผู้ปกครองสามารถส่งผลต่อพัฒนาการด้านจิตใจ และสังคมของเด็ก
ได้อย่างมาก โดยเด็กที่ถูกผู้ปกครองเลี้ยงด้วยวิธีการดุด่าว่ากล่าว ลงโทษโดยการตี นอกจาก
จะไม่ได้ผลที่ดีแล้วยังส่งผลต่อความสัมพันธ์ในครอบครัว คือ ไม่มีความรักผูกพันที่มั่นคง
ระหว่างกัน ไม่มีความไว้เนื้อเชื่อใจซึ่งกันและกัน รวมทั้งไม่ยินดียินร้ายในความเป็นไปของผู้อื่น
ซึ่งอาจถึงขั้นคิดร้ายต่อกัน
ด้วยเหตุนี้ ผู้ปกครองควรเลี้ยงดูเด็กตามมาตรฐานขั้นต่ำ (ที่กำหนดโดยพระราชบัญญัติ
คุ้มครองเด็ก พ.ศ. 2546 มาตรา 23) ดังนี้
1. ให้การดูแลขั้นพื้นฐาน ไม่ว่าจะเป็นการกินอยู่ เล่น นอนหลับ พักผ่อน หรือทำกิจวัตรประจำวันของเด็ก พร้อมกันนั้นต้องถ่ายทอดทักษะในการดูแลตนเองให้แก่เด็กระหว่างการดูแลข้างต้น
2. สร้างหลักประกันให้เด็กปลอดภัยจากอันตรายใด ๆ ไม่ได้หมายถึงแค่ผู้ปกครอง
เป็นผู้ดูแลให้เด็กปลอดภัย แต่ยังหมายถึงการสร้างหลักประกันให้มั่นใจว่าเด็กจะต้องปลอดภัย
ตามมาตรา 23 ซึ่งระบุไว้ตอนหนึ่งว่า “ผู้ปกครองต้องคุ้มครองสวัสดิภาพเด็กที่อยู่ในความ
ปกครองดูแลของตนมิให้ตกอยู่ในภาวะอันน่าจะเกิดอันตรายแก่ร่างกายหรือจิตใจ”
โดยหลักประกันที่ไม่ให้เด็กได้รับอันตรายจากบุคคลอันตราย ประกอบด้วย
1. กำหนดพื้นที่ปลอดภัยสำหรับเด็ก (safe zone)
2. กำหนดกฎเกณฑ์แห่งความปลอดภัย (safety rule)
3. ให้ความอบอุ่นด้านจิตใจและเป็นที่พึ่งทางใจ (emotional warmth) เป็นความสามารถ
ในการอุปการะเลี้ยงดูเด็กของผู้ปกครอง (parenting capacity) ที่สำคัญซึ่งหมายความถึง
การที่ผู้ปกครองสามารถให้ความอบอุ่นด้านจิตใจและเป็นที่พึ่งทางใจแก่เด็กได้ ทำให้เด็ก
เชื่อมั่นว่าตนมีที่พึ่ง
4. กระตุ้นการเรียนรู้ มีทักษะและความรู้ความเข้าใจในการกระตุ้นพัฒนาการเด็กตามวัย
(stimulation) ซึ่งจะโยงถึงความต้องการรับการพัฒนาของเด็ก (child’s developmental needs)
ด้านต่างๆ
5. ชี้แนะแนวทางชีวิต (guidance and boundaries) ด้วยการสร้างเงื่อนไขแวดล้อมให้เด็ก
มีวินัยมีพฤติกรรมที่ดี แทรกแซงพฤติกรรมไม่เหมาะสม กระตุ้นให้เด็กริเริ่มกระทำดีมีคุณธรรม
ด้วยตนเอง ฝึกให้เด็กกำหนดขอบเขตที่เหมาะสมในการมีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น รู้จักกาลเทศะ
ทำให้เด็กปลอดภัยและมีพฤติกรรมทางสังคมที่ดี
6. ผู้ปกครองหรือผู้ดูแลต้องมีความคงเส้นคงวาหรือตอบสนองต่อความต้องการของเด็กอย่างทันการณ์และเสมอต้นเสมอปลาย (stability) ทำให้เด็กเกิดความรู้สึกมั่นคงในจิตใจ ทำให้เด็กมั่นใจมีความมั่นคงในชีวิต เด็กรู้ว่าสามารถพึ่งพาผู้ปกครองหรือผู้ดูแลและขอความช่วยเหลือได้