พัฒนาการในเด็กหยุด เมื่อเจอความรุนแรง

ปัญหาเรื่องความรุนแรงในครอบครัวนั้น ปฏิเสธไม่ได้ว่าเป็นเรื่องที่อยู่กับสังคมไทยมาอย่าง
ช้านาน ตั้งแต่อดีตที่มีการเฆี่ยนตีลูกเพื่อเป็นการลงโทษ หรือสั่งสอน จนปัจจุบันที่หลายครอบครัว
ก็ไม่ได้ลงโทษลูกด้วยวิธีดังกล่าว แต่ก็ไม่สามารถปฏิเสธได้เช่นกันว่ายังมีครอบครัวที่ใช้ความรุนแรง
ในการลงโทษ หรือสั่งสอนเด็ก ๆ ตามข่าวที่เราเห็นกันแบบผ่านตาในช่วงที่ผ่านมา ซึ่งความรุนแรง
ดังกล่าวนั้น อาจจะส่งผลต่อทั้งสภาพจิตใจของเด็กเล็ก เกิดเป็นรอยแผลบนพัฒนาการ จนอาจจะ
ทำให้เด็ก ๆ มีพัฒนาการที่ช้าลง หรือหยุดพัฒนาการในบางส่วนไป เพราะฉะนั้นคอนเทนต์นี้
เลยจะเป็นการสร้างความเข้าใจในการใช้ความรุนแรงในการแก้ปัญหา หรือการลงโทษเด็ก ๆ
ว่ามีผลเสียอย่างไร ควรทำไหม แล้วปัจจุบันควรเลี้ยงลูกอย่างไรหากเราจะไม่ลงโทษแบบเฆี่ยนตี

5 ขวบแรก ช่วงเวลาทองแห่งพัฒนาการ

ก่อนอื่นเลยต้องสร้างเข้าใจกันว่า ตามธรรมชาติและพัฒนาการของเด็กนั้น จะสามารถพัฒนาการได้เป็นอย่างดีในหลาย ๆ เรื่อง จนถึงช่วงอายุ 5 ขวบ เรียกได้ว่าช่วงวัยนี้เป็นช่วงทอง
แห่งพัฒนาการในเด็ก ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของพัฒนาการในด้านการเรียนรู้ ในด้านการเข้าสังคม
หรือในเรื่องของการพัฒนาการด้านอารมณ์ ความคิด การตัดสินใจ ซึ่งช่วงเวลานี้เป็นช่วงที่ดีที่สุด
ในการที่พ่อแม่จะช่วยเสริมพัฒนาการให้เด็ก ๆ ในทุกด้าน และในขณะเดียวกัน หากมีอะไร
ที่สร้างบาดแผลทางความรู้สึก ไม่ว่าจะเรื่องของการใช้ความรุนแรง ทั้งในด้านของคำพูด
และการกระทำ ก็อาจจะส่งผลกระทบต่อพัฒนาการจนทำให้เด็ก ๆ นั้นหยุดพัฒนาการในบางด้าน
ได้เช่นกัน

การใช้ความรุนแรงกับเด็กดีจริงหรือ ?

จากช่วงที่ผ่านมานั้น เราก็เห็นตามข่าวผ่านช่องทางต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นผ่านช่องทาง
ของแต่ละสำนักข่าว หรือพื้นที่ Social Media ก็มักจะพบเห็นพฤติกรรมที่มีการใช้ความรุนแรงกับเด็กในครอบครัว ไม่ว่าจะเป็นการเฆี่ยนตี การทุบตีหรือทำร้ายร่างกาย จนทำให้เกิดการวิพากย์วิจารณ์
กันอย่างกว้างขวาง คำถามคือความเชื่อที่ถูกปลูกฝังมาว่าการตีลูกจะช่วยให้ลูกมีพฤติกรรมที่ดีขึ้นมันดีจริง ๆ หรือ ? เพราะเชื่อว่ายังมีหลาย ๆ ครอบครัวที่ยังคงมีความเชื่อว่าการลงโทษเด็ก ๆ
ด้วยความรุนแรงเป็นสิ่งที่ดีกับลูก ช่วยให้พวกเขามีนิสัยที่ดีมากขึ้น ซึ่งในความเป็นจริงแล้ว มีงานวิจัยมาอย่างหลากหลายเด็ก ๆ โดยการสร้างความรุนแรงไม่ว่าจะผ่านคำพูด ด่าทอ หรือว่าจะเป็นในเรื่องของการสร้างความรุนแรงทางร่างกาย หรือการใช้ความรุนแรงต่าง ๆ ก็ส่งผลโดยตรงต่อพัฒนาการของเด็กในแต่ละช่วงวัยเช่นกัน ไม่ว่าจะเรื่องอาการต่อต้านสังคม พฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมตอนโต และรวมไปถึงอาจจะเป็นจุดเริ่มต้นของอาการทางจิตได้เช่นกัน

“ความรุนแรง” สิ่งอันตรายที่หยุดพัฒนาการเด็กได้

เด็กเล็กนั้นต่างก็มีพัฒนาการตลอดเวลาตั้งแต่เกิดจนโต การพัฒนาการคือสิ่งที่มนุษย์นั้นสามารถทำได้ตลอดแต่จะเห็นผลและชัดเจนมากคือในช่วง 5 ปีแรก ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของพัฒนาการทางด้านร่างกาย สติปัญญา จิตใจ หรือทักษะทางสังคมต่าง ๆ เช่น การเป็นผู้นำ การเข้าสังคม
สิ่งเหล่านี้เป็นสิ่งที่เด็ก ๆ นั้นจะสามารถพัฒนาการได้ผ่านหลายปัจจัยแต่พัฒนาการเหล่านี้จะหยุดลงหากพ่อแม่ลงโทษลูก ๆ โดยใช้ความรุนแรง ก็อาจจะเป็นการเปิดประตูบานแรกที่จะทำให้ลูกของเรากลายเป็น “เด็กมีปัญหา” ของสายตาในสังคม เพราะเราจะเห็นได้บ่อยครั้งว่าเด็กที่ได้รับความรุนแรงตั้งแต่เล็กจะมีพัฒนาการในบางด้านที่หยุดชะงักไป ซึ่งส่วนใหญ่จะเห็นชัดว่า จะมีปัญหาในด้าน
การเข้าสังคม การต่อต้านสังคม การไว้วางใจคนรอบข้าง รวมไปถึงพฤติกรรมที่ก้าวร้าว และรุนแรง
ในอนาคต ถ้าเทียบกันแล้วสิ่งเหล่านี้ก็นับได้เป็นเพียงแค่ส่วนหนึ่งที่เล็กน้อยมาก ๆ เมื่อเทียบกับผลเสีย
อันยิ่งใหญ่ที่จะตามมาในอนาคต ไม่ว่าจะเป็นปัญหาทางสภาวะอารมณ์ อันนำไปสู่การเกิดโรคทางจิต
เช่น สภาวะซึมเศร้าได้ในที่สุด

ไม่ลงโทษโดยใช้ความรุนแรง แต่ลงโทษแบบสร้างสรรค์ดีกว่า

อย่างที่บอกไปว่าเรื่องของความรุนแรงนั้นส่งผลกระทบต่อเรื่องของพัฒนาการเด็ก
เป็นอย่างมาก จนอาจจะก่อปัญหาเป็นแผลในจิตใจ จนส่งผลกระทบต่อสภาพจิตใจตอนโต แล้วเราจะลงโทษลูกอย่างไรถ้าเกิดลูกทำผิด? แน่นอนว่าการทำผิดเองนั้นก็ต้องมีการลงโทษอยู่เสมอ ไม่ว่าจะเล็กน้อยเพียงใด เพราะมันคือส่วนหนึ่งในการเรียนรู้ของเด็ก ๆ แต่ถ้าเราลงโทษอย่างสร้างสรรค์นั้น
ก็จะช่วยให้เด็ก ๆ ได้เรียนรู้จักเกี่ยวกับสิ่งที่ถูกและผิดได้ดีมากขึ้น โดยวิธีการส่วนใหญ่ที่เรามักเห็นกันคือการสร้างข้อตกลงง่าย ๆ ให้เหมาะกับช่วงวัย เช่น การลงโทษด้วยการเมินลูก ทิ้งให้อยู่คนเดียว
หรือหากเป็นเด็กที่เริ่มโตขึ้นมาก็อาจจะปรับเป็นการงดกิจกรรมที่เขาชอบ ให้รับผิดชอบในสิ่งที่ทำผิด ให้ทำตารางทำงานบ้านเพิ่ม หรือการตัดสิทธิ์ของรางวัลที่จะได้รับเป็นต้น ซึ่งวิธีเหล่านี้ปัจจุบันก็มีการเลือกใช้ได้อย่างเหมาะสมและหลากหลายเช่นกัน แต่นอกจากจะสามารถเลือกใช้วิธีเหล่านี้ได้อย่างเหมาะสมแล้วนั้นยังมีอีก 1 วิธีที่ดีและหลาย ๆ ครอบครัวนั้นก็นำมาใช้คือเรื่องของการใช้หลักการสื่อสารเชิงบวก หรือ I-Message เทคนิคที่ใช้ในการพูดคุยกันในทุกความสัมพันธ์ เพื่อบอกกล่าวถึง ‘พฤติกรรมที่น่าเป็นห่วง รวมไปถึงพฤติกรรมที่ผิด โดยหลักการคือเป็นการสื่อสารแบบตรง ๆ
ผ่านการนำตัวผู้พูดเองเป็นผู้ริเริ่มการสื่อสาร และที่สำคัญเราต้องพูดถึงพฤติกรรม แต่ไม่ได้บ่น ด่าทอ ถึงตัวอีกฝ่าย ซึ่งวิธีนี้ก็จะช่วยสร้างความเข้าใจทั้งในเรื่องของพฤติกรรมที่พวกเขาทำแล้ว
มันผิด ไม่เหมาะสม ไม่ควร และเป็นวิธีที่ได้ผลดี ส่งผลต่อเรื่องพัฒนาการด้านสังคมอีกด้ว

ลงโทษลูกถูกวิธี ส่งผลดีต่อพัฒนาการ

หากลงโทษเด็ก ๆ อย่างถูกวิธีนั้นก็จะช่วยให้พวกเขา สามารถที่จะเรียนรู้ถึงพฤติกรรมที่ควร
ไม่ควรได้ด้วยตัวเองโดยที่เราไม่ต้องอาศัยเรื่องของการเฆี่ยนตี หรือเรื่องของการที่เราใช้ความรุนแรงจนอาจจะสร้างบาดแผลทางจิตใจให้ได้ ซึ่งการลงโทษอย่างสร้างสรรค์และถูกวิธีเป็นการปูทางไปสู่พัฒนาการที่ดีไม่ว่าจะเป็นเรื่องของจิตใจ เรื่องของสังคมของลูกได้ในที่สุด เพราะในต่างประเทศนั้นก็ได้มีผลวิจัยเช่นกันว่า ในครอบครัวที่เด็กถูกเลี้ยงดูมาแบบเอาใจใส่ คอยเป็นพลังบวกให้กัน พูดคุยกันได้ด้วยเหตุและผล ไม่ใช้ความรุนแรง ก็จะทำให้เด็ก ๆ นั้นมีพัฒนาการที่ดีมากกว่า ไม่ว่าจะเรื่องของความฉลาด หรืออารมณ์ เมื่อเทียบกับครอบครัวที่ลูกมาแบบลงโทษด้วยความรุนแรงสลับกับเอาใจใส่ก็พบว่าการเอาใจใส่นั้นไม่สามารถนำมาหักลบกับบาดแผลจากความรุนแรงที่เกิดขึ้นได้ ทำให้เด็ก
มีบาดแผลทางความรู้สึกไม่ต่างจากครอบครัวที่เลี้ยงดูแบบใช้ความรุนแรงอย่างเดียว

สุดท้ายนี้แล้วการที่พ่อแม่คอยเป็นตัวช่วยสำคัญในการพัฒนาการของเด็กนั้น ก็จะช่วยเพิ่มความรัก ความสามัคคีที่มีในครอบครัวอีกด้วย ทำให้เด็ก ๆ นั้นเติบโตมาอย่างมีคุณภาพ ทั้งในเรื่องของ IQ หรือ EQ ก็จะพัฒนาตามความสุขที่ได้รับจากครอบครัวเช่นกัน เหมือนเป็นการสร้าง
เกราะป้องกันทางความรู้สึกให้กับลูก ๆ ไปในตัว

สำหรับใครที่อยากรู้จักการลงโทษลูกอย่างสร้างสรรค์ ว่ามีวิธีการทำอย่างไร และผลจะออกมาเป็นอย่างไรนั้นก็สามารถศึกษาได้จากคู่มือวิดีโอเรื่อง “หัวใจใกล้กัน ตอน วิธีลงโทษลูกแบบสร้างสรรค์” วิดีโอที่จะพาทุกคนไปรู้จักการลงโทษลูกอย่างสร้างสรรค์จาก 2 ครอบครัวที่มีลูก
วัยกำลังซน

สามารถรับชมได้ที่นี่

เอกสารอ้างอิง

สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.). (2566). พัฒนาการในเด็กหยุด เมื่อเจอความรุนแรง. สืบค้น 17 มิถุนายน 2566, จาก  https://shorturl.asia/J9sDx