“แนวทางการดำเนินการช่วงรอยเชื่อมต่อของเด็กปฐมวัยตั้งแต่ 0 – 8 ปี ในบริบทของประเทศไทย”

สิ่งที่เด็ก ๆ ทุกคนต้องเผชิญ คือ “ช่วงรอยเชื่อมต่อทางการศึกษา” ซึ่งเป็นช่วงเวลาแห่งการเปลี่ยนแปลง ทั้งคุณครู ผู้ปกครองจะต้องร่วมกันเตรียมพร้อมเด็ก ๆ ในการปรับตัวเข้ากับสังคมใหม่ เพื่อนใหม่ สภาพแวดล้อมใหม่ ตลอดจนกฎระเบียบของสถานพัฒนาเด็กปฐมวัย

สำหรับแนวทางการดำเนินการช่วงรอยเชื่อมต่อของเด็กปฐมวัยตั้งแต่ 0 – 8 ปี ในบริบทของประเทศไทย จะแบ่งออกเป็น 3 ช่วง คือ

1. ช่วงรอยเชื่อมต่อจากบ้านสู่สถานพัฒนาเด็กปฐมวัย

ผู้ส่ง คือ ผู้ปกครอง  →  ผู้รับ คือ ครูหรือผู้ดูแลเด็ก

เป็นการสร้างความคุ้นเคย เพิ่มความสัมพันธ์เชิงบวก ปรับสภาพแวดล้อม รวมถึงเตรียม
ความพร้อมให้กับเด็กก่อนเข้าสถานพัฒนาเด็กปฐมวัย เพื่อช่วยเหลือให้เด็กสามารถปรับตัวได้ง่ายขึ้น

2. ช่วงรอยเชื่อมต่อสถานพัฒนาเด็กปฐมวัยสู่ระดับอนุบาล 

แบ่งแนวปฏิบัติออกเป็น 2 กลุ่มคือ 

ผู้ส่ง: ครูหรือผู้ดูแลเด็ก → ผู้รับ: ครูระดับอนุบาล

ผู้ส่ง: ผู้ปกครอง → ผู้รับ: ครูระดับอนุบาล

ถือเป็นการเสริมความพร้อมจากเด็กปฐมวัยสู่ระดับอนุบาล และผสานรอยเชื่อมต่อ
ทางการศึกษา

3. ช่วงรอยเชื่อมต่อจากระดับอนุบาลสู่ระดับประถมศึกษา

แบ่งแนวปฏิบัติออกเป็น 2 กลุ่ม คือ

ผู้ส่ง: ครูระดับอนุบาล 3 → ผู้รับ: ครูประถมศึกษาปีที่ 1

ผู้ส่ง: ผู้ปกครอง → ผู้รับ: ครูประถมศึกษาปีที่ 1

แนวทางการดำเนินการช่วงรอยเชื่อมต่อทั้ง 3 ช่วง จะดำเนินการผ่านการส่งเสริมความพร้อมทั้ง 6 ด้าน ได้แก่ การใช้งานส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย ทักษะทางวิชาการ ทักษะทางสังคม การดูแล
ช่วยเหลือตัวเอง คุณลักษณะนิสัยส่วนบุคคล และการควบคุมตัวเอง ร่วมกับการจัดกิจวัตรประจำวัน และการจัดเตรียมสภาพแวดล้อม วัสดุ อุปกรณ์ เพื่อสร้างความคุ้นเคยให้กับเด็ก ตลอดจน
การเตรียมความพร้อมของครูผ่านการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน การประเมิน และการประสานความร่วมมือในโรงเรียน (กรณีการส่งต่อโรงเรียนเดิม) 

เอกสารอ้างอิง

OEC News สภาการศึกษา. (2566). “แนวทางการดำเนินการช่วงรอยเชื่อมต่อของเด็กปฐมวัยตั้งแต่ 0 – 8 ปี ในบริบทของประเทศไทย”. สืบค้นเมื่อ 29 ตุลาคม 2566 จากhttps://www.blockdit.com/posts/650414e0bd9cf110c97a0b78