ลุยสร้างการรับรู้สู่สาเมื่อวันที่ 12 มกราคม 2566 รองเลขาธิการสภาการศึกษา
(ดร.สวัสดิ์ ภู่ทอง) เป็นประธานการประชุมสร้างการรับรู้และความเข้าใจการปรับเงินอุดหนุนค่าใช้จ่ายในการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน ปีงบประมาณ พ.ศ. 2566-2569 โดยมี ผู้อำนวยการสำนักนโยบายและแผนการศึกษา (นางรัชนี พึ่งพาณิชย์กุล) และข้าราชการสำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา (สกศ.) เข้าร่วมประชุม ณ ห้องประชุมสิปปนนท์ เกตุทัต ชั้น 2 อาคาร 2 สกศ.ธารณชน
ดร.สวัสดิ์ ภู่ทอง รองเลขาธิการสภาการศึกษา กล่าวว่า สกศ. จัดทำข้อเสนอในการปรับอัตราเงินอุดหนุนค่าใช้จ่ายสำหรับการศึกษาขั้นพื้นฐาน จัดสรรตามจำนวนผู้เรียน ครอบคลุมค่าใช้จ่ายจำเป็นพื้นฐานในระดับก่อนประถมศึกษา ประถมศึกษา มัธยมศึกษาตอนต้น มัธยมศึกษาตอนปลาย และประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) ซึ่งมติที่ประชุมคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 26 กรกฎาคม 2565
เห็นชอบการปรับอัตราเงินอุดหนุนในลักษณะขั้นบันได ผูกพันงบประมาณต่อเนื่อง 4 ปี (ปีงบประมาณ พ.ศ. 2566-2569) โดยการสร้างความรู้ความเข้าใจให้บุคลากรภายใน ถือเป็น
หัวใจหลักของการทำงานให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน ก่อนการเผยแพร่สู่สาธารณชน
รายการค่าใช้จ่ายพื้นฐานแบ่งออกเป็น 2 ประเภท ดังนี้ 1. การศึกษาในระบบ ปรับอัตรา
เงินอุดหนุน 4 รายการค่าใช้จ่ายพื้นฐาน ได้แก่ 1) ค่าจัดการเรียนการสอน 2) ค่ากิจกรรมพัฒนาคุณภาพผู้เรียน 3) ค่าเครื่องแบบนักเรียน และ 4) ค่าอุปกรณ์การเรียน ส่วนค่าหนังสือเรียนไม่ได้
ปรับอัตราในครั้งนี้ เนื่องจากมีการปรับมาอย่างต่อเนื่อง และ 2. การศึกษานอกระบบ ปรับอัตรา
เงินอุดหนุน 3 รายการ ได้แก่ 1) ค่าจัดการเรียนการสอน 2) ค่ากิจกรรมพัฒนาคุณภาพผู้เรียน
และ 3) ค่าหนังสือเรียน
ที่ประชุมอภิปรายแลกเปลี่ยนความคิดเห็นรายการค่าใช้จ่ายพื้นฐานเพิ่มเติม ในประเด็น
กฎ/ระเบียบที่ควรปรับเพื่อให้เกิดความคล่องตัวในการบริหารจัดการงบประมาณของสถานศึกษา และให้ข้อคิดเห็นเรื่องการขยายขอบเขตการจัดสรรเงินอุดหนุนค่าใช้จ่ายรายหัว ของการศึกษา
ในระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) หรือการศึกษาเฉพาะทางอื่นๆ
ทั้งนี้ ได้หารือการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์วีดิทัศน์ และหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (E-Book) แนวทางการอุดหนุนค่าใช้จ่ายในการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน ปีงบประมาณ พ.ศ. 2566-2569 ผ่านเว็บไซต์และช่องทางสื่อสังคมออนไลน์ และสำรวจความคิดเห็นการจัดสรรทรัพยากรเพื่อเพิ่มโอกาสในการเข้าถึงการศึกษาที่มีคุณภาพ เพื่อเป็นประโยชน์ต่อการจัดทำข้อเสนอเชิงนโยบายเพิ่มโอกาสและศักยภาพในการจัดการศึกษา ลดความเหลื่อมล้ำ แบ่งเบาภาระผู้ปกครอง และจัดกิจกรรมให้กับผู้เรียน
ในแต่ละระดับได้อย่างเหมาะสม รวมทั้งสะท้อนค่าใช้จ่ายจริงในการจัดการศึกษาและสอดคล้องกับสภาวการณ์ทางเศรษฐกิจและสังคมที่เปลี่ยนแปลงไป