วันที่ 21 กรกฎาคม 2566 ดร.พัชร์ลิตา ฉัตรวริศพงศ์ ผู้ช่วยผู้อำนวยการ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ เป็นผู้แทนพระองค์ สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จ-
พระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี มอบตราพระราชทานโครงการบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย ประเทศไทย ประจำปีการศึกษา 2565 พร้อมแสดงความยินดีกับเครือข่ายและโรงเรียนทั่วประเทศ
ที่ผ่านการประเมินขอรับตราพระราชทาน สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพ-
รัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
คุณฤทัย จงสฤษดิ์ ผู้อำนวยการฝ่ายอาวุโส ฝ่ายวิชาการ หลักสูตร และสื่อการเรียนรู้ สวทช. วิทยากรหลักอาวุโสของโครงการ ฯ กล่าวว่า ในปีนี้มีผู้นำเครือข่ายท้องถิ่น วิทยากรเครือข่ายท้องถิ่น และผู้แทนจากโรงเรียนที่ผ่านการประเมินเพื่อรับตราพระราชทาน จำนวน 13,461 คนทั้งในระดับปฐมวัยและประถมศึกษา โดยในปีนี้เป็นปีแรกที่มีโรงเรียนระดับชั้นประถมศึกษาผ่านการประเมิน
รับตราพระราชทาน ครั้งที่ 1 และโรงเรียนระดับปฐมวัยในเครือข่าย สวทช. ผ่านเกณฑ์การประเมินเข้าร่วมรับตราพระราชทานครั้งที่ 4 จำนวนทั้งสิ้น 14 โรงเรียน
โครงการบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย ประเทศไทย เป็นโครงการตามพระราชดำริสมเด็จ-
พระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ดำเนินการโดย 8 หน่วยงานภาคีเครือข่าย ได้แก่ มูลนิธิสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา บริษัท นานมีบุ๊คส์ จำกัด สำนักงาน
คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (อพวช.) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ (มศว) กลุ่มบริษัท บี.กริม และเป็นความร่วมมือกับ มูลนิธิ Haus der kleinen Forscher สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี โดยทั้งเนื้อหาและกระบวนการส่งเสริมให้เด็ก ๆ พัฒนากระบวนการคิด ปลูกฝังให้มีเจตคติที่ดีต่อวิทยาศาสตร์ ธรรมชาติ และเทคโนโลยี ส่งเสริมให้ตั้งคำถาม หาคำตอบ สื่อสารความรู้ที่ได้และได้ทำงานเป็นทีม เรียนรู้ด้วยความสนุก ผ่านกิจกรรมที่หลากหลาย เปิดประสบการณ์การเรียนรู้และทักษะใหม่ ๆ
โดยพัฒนาศักยภาพของครูปฐมวัยทั่วประเทศอย่างต่อเนื่อง ในปี 2566 โครงการฯ ดำเนินการ
ครบ 12 ปี มีสถานศึกษาเข้าร่วมโครงการกว่า 29,144 โรงเรียนทั่วประเทศ ผ่านผู้นำเครือข่ายท้องถิ่น 255 แห่ง ทั้งภาครัฐและเอกชนทั่วประเทศและครูผู้สอนกว่า 50,000 คน ซึ่งปรากฏผลสำเร็จ
ตามวัตถุประสงค์ทุกประการ คือครูและเด็กสนใจเรียนรู้และสนุกกับกิจกรรมวิทยาศาสตร์
ที่ผ่านมา โครงการฯ ได้จัดให้มีกิจกรรมอบรมอย่างต่อเนื่อง ได้แก่ การอบรมครูปฐมวัยและประถมศึกษาด้าน STEM ในหัวข้อรอบตัว เช่น น้ำ อากาศ แม่เหล็ก ESD ฯลฯ การจัดทำสื่อการเรียนการสอนสำหรับครู การจัดทำรายการโทรทัศน์ “บ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย” และจัดเทศกาลวัน
นักวิทยาศาสตร์น้อย
ในปีนี้โครงการฯ มุ่งเน้นปลูกฝังแนวคิดเรื่อง “ความยั่งยืน” หรือ Education for Sustainable Development (ESD) ให้เด็กปฐมวัยเรียนรู้อย่างเข้าใจด้วยการฝึกให้เด็ก ๆ คิดถึงสิ่งที่อยู่รอบตัว ชุมชน เพื่อสนับสนุนแนวคิดเรื่องเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals –SDGs) ทั้ง 17 เป้าหมายขององค์การสหประชาชาติ (UN) อีกด้วย