สถิติในการเข้ารับการชั่งน้ำหนัก วัดความยาว/ส่วนสูง ของเด็กอายุ 0-5 ปี

ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 กระทรวงสาธารณสุข โดยกรมอนามัยกำหนดตัวชี้วัดเด็กไทย มีการเจริญเติบโตและพัฒนาการสมวัย เพื่อให้เด็กปฐมวัยตั้งแต่แรกเกิดจนถึงอายุ 5 ปี 11 เดือน 29 วัน ได้รับการพัฒนาเต็มศักยภาพ มีการเจริญเติบโตและพัฒนาการสมวัย ได้รับการประเมินภาวการณ์เจริญเติบโตจากการชั่งน้ำหนัก วัดความยาว/ส่วนสูง และตรวจคัดกรองพัฒนาการโดยใช้คู่มือเฝ้าระวังและส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัย (DSPM) ซึ่งผลการดำเนินงานสามารถสรุปได้ ดังนี้

จากผลการดำเนินงานจะพบว่า ความครอบคลุมการชั่งน้ำหนัก วัดความยาว/ส่วนสูง ของเด็กอายุ 0 – 5 ปี เมื่อพิจารณา รายเขตสุขภาพ ปีงบประมาณ 2565 พบว่า เขตสุขภาพที่ 3, 7 และ 9 มีค่าสูงสุด 3 อันดับแรก คือ ร้อยละ 84.1, 83.1 และ 79.0 ตามลำดับ เขตสุขภาพที่ 4, 6 และ 11 มีค่าต่ำสุด คือ ร้อยละ 49.4, 61.7 และ 66.1 ตามลำดับ ดังจะแสดงให้เห็นตามแผนภาพ ได้ดังนี้

นอกจากข้างต้นแล้ว พบว่าสถานการณ์เด็กอายุ 0 – 5 ปี สูงดีสมส่วน เมื่อพิจารณารายเขตสุขภาพ ปีงบประมาณ 2565 พบว่า เขตสุขภาพที่ 7, 11 และ 3 มีร้อยละเด็กสูงดีสมส่วน สูงสุด 3 อันดับแรก คือ ร้อยละ 70.8, 66.3 และ 64.9 ตามลำดับ เขตสุขภาพที่ 1, 4 และ 2 มีร้อยละเด็กสูงดีสมส่วน ต่ำสุด คือ ร้อยละ 53.4, 54.0 และ 56.4 ตามลำดับดังจะแสดงให้เห็นตามแผนภาพ ได้ดังนี้

อ่านเอกสารฉบับเต็มได้ที่ : https://shorturl.asia/C4jhY

เอกสารอ้างอิง

  • ระบบคลังข้อมูลสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข. (2565). Assessment บทวิเคราะห์สถานการณ์ของตัวชี้วัด ข้อมูล สารสนเทศ และความรู้ที่นำมาใช้. สืบค้น 16 ตุลาคม 2565, จาก https://shorturl.asia/C4jhY