พัฒนาการล่าช้าในเด็กเล็กถือเป็นเรื่องสำคัญที่ผู้ปกครองควรให้ความสนใจเป็นอย่างยิ่ง
โดยพัฒนาการล่าช้ามักวินิจฉัยได้เมื่อเด็กไม่มีพัฒนาการถึงระดับมาตรฐานตามวัย อาจครอบคลุมตั้งแต่เรื่องเล็ก ๆ ไปจนถึงเรื่องสำคัญมาก โดยวิธีสังเกตพัฒนาการล่าช้าในเด็กเล็กในช่วงอายุ
12-18 เดือนนั้น ผู้ปกครองสามารถสังเกตได้ผ่านพัฒนาการทั้ง 5 ด้าน ดังนี้
- ด้านสติปัญญา สังเกตได้จากการที่เด็กไม่ส่งเสียงพูดเป็นพยางค์ช้า ๆ ไม่ทำท่าเลียนแบบ เช่น
โบกมือบ๊ายบายหรือส่ายหน้า ไม่สบตาเมื่อสื่อสาร มีความสนใจในสิ่งของมากกว่าสนใจคน
และไม่ตอบสนองเมื่อถูกเรียกชื่อ - ด้านการมองเห็น หากสังเกตว่าเด็กมีพัฒนาการล่าช้าในด้านการมองเห็นให้สังเกตดังนี้ ไม่สังเกตมือเมื่อเด็กอายุครบ 2 เดือน ไม่มองตามความเคลื่อนไหวเมื่ออายุครบ 3 เดือน และน้ำตาไหลตลอดเวลาหรือตาแห้งเมื่ออายุครบ 6 เดือน เป็นต้น
- ด้านภาษาและการพูด สาเหตุอย่างหนึ่งของพัฒนาการด้านภาษาล่าช้าที่ควรตรวจสอบ คือ
การสูญเสียการได้ยินถ้าสงสัยว่าทารก หรือเด็กวัยเตาะแตะที่ดูแลอยู่มีพัฒนาการล่าช้าด้านภาษาหรือไม่ ให้มองหาสัญญาณดังนี้ ไม่ส่งเสียงอ้อแอ้หรือตอบสนองต่อเสียงดังเมื่ออายุ 3-4 เดือน
ไม่ตอบสนองต่อเสียงใด ๆ เลยเมื่ออายุ 7 เดือน และไม่พูดอะไรเลยเมื่ออายุ 1 ปี เป็นต้น - ด้านกล้ามเนื้อหรือการเคลื่อนไหว พัฒนาการกล้ามเนื้อมัดใหญ่ล่าช้ามีผลต่อการคลานหรือเดิน ส่วนพัฒนาการกล้ามเนื้อมัดเล็กล่าช้า จะมีผลให้เด็กไม่สามารถใช้ช้อนส้อม หรือจับสีเทียนได้อย่างถูกต้อง สัญญาณที่ควรมองหาก็คือ ไม่สามารถคว้าวัตถุได้เมื่ออายุ 3-4 เดือน ไม่สามารถนั่งได้เองเมื่ออายุ 6 เดือน และไม่สามารถคลานหรือยืนเมื่ออายุ 1 ปี เป็นต้น
- ด้านสังคมหรืออารมณ์ที่สอดคล้องกับวัย เช่น เด็กจะเริ่มยิ้มให้ผู้เลี้ยงดูเมื่ออายุ 2-3 เดือน สนใจของตามสิ่งที่ผู้เลี้ยงดูชี้ให้ดูเมื่ออายุ 1 ปี และสามารถเล่นสมมติได้ในวัยอนุบาล