แดชบอร์ดแสดงข้อมูลพัฒนาการของเด็กปฐมวัยในจังหวัดพิจิตร

จากการคัดกรองพัฒนาการเด็กปฐมวัยในพื้นที่จังหวัดพิจิตร ผ่านเครื่องมือ DSPM
โดยพิจารณาปัจจัยทับซ้อนอื่น 3 ด้าน ได้แก่ 1) การรับเงินอุดหนุนเลี้ยงดูเด็กแรกเกิด
โดยกรมกิจการเด็กและเยาวชน 2) อายุมารดาเมื่อคลอดน้อยกว่า 20 ปี และ
3) มีปัญหาสุ่มเสี่ยงด้านการขาดออกซิเจนขณะคลอด (Apgar) โดยสามารถสรุปผล
ตามข้อมูลในแดชบอร์ดได้ดังนี้

แดชบอร์ดหน้าที่ 1 แสดงผลการตรวจคัดกรองพัฒนาการเด็ก ตามคู่มือเฝ้าระวังและส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัย (Developmental Surveillance & Promotion Manual: DSPM) ที่เข้ารับบริการในสถานพยาบาลสังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุขในเขตพื้นที่จังหวัดพิจิตร ซึ่งแบ่ง
การคัดกรองออกเป็น 5 ด้าน ได้แก่ 1) กล้ามเนื้อมัดใหญ่ 2) กล้ามเนื้อมัดเล็กและสติปัญญา
3) ความเข้าใจภาษา 4) การใช้ภาษา และ 5) การช่วยเหลือตนเองและการเข้าสังคม นำเสนอในรูปแบบสถิติการเข้ารับบริการของกลุ่มเด็กปฐมวัยในแต่ละสถานพยาบาล สำหรับให้เจ้าหน้าที่ในจังหวัด
ตรวจสอบจำนวนของการเข้ารับบริการในแต่ละสถานพยาบาล โดยได้แจกแจงข้อมูลพัฒนาการ
ในแต่ละด้านของเด็กเป็นรายบุคคล โดยไม่ระบุชื่อหรืออัตลักษณ์บ่งชี้ตัวตน เพื่อให้เจ้าหน้าที่
ยังสามารถตรวจสอบรายละเอียดสถานการณ์การเข้ารับบริการสาธารณสุขของกลุ่มเด็กปฐมวัย
ในแต่ละสถานพยาบาลได้ โดยที่ยังคงคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลของเจ้าของข้อมูลอยู่

แดชบอร์ดดังกล่าวได้แสดงข้อมูลความอ่อนไหวของเด็กปฐมวัยในสามด้านเพิ่มเติม ได้แก่
1) การรับเงินอุดหนุนเลี้ยงดูเด็กแรกเกิดโดยกรมกิจการเด็กและเยาวชน 2) การเกิดในหญิงอายุ
ต่ำกว่า 20 ปี และ 3) การพบภาวะขาดออกซิเจนขณะเกิด ซึ่งจากข้อมูลจะช่วยให้สามารถกรอง
เฉพาะเด็กที่มีปัญหาในแต่ละด้านตามที่ผู้ศึกษาสนใจ เพื่อใช้ในการพิจารณาหรือใช้เป็นข้อมูล
พื้นฐานในการสำรวจสถานการณ์ต่าง ๆ เพื่อลงรายละเอียดในเชิงลึกต่อไป

แดชบอร์ดหน้าที่ 2 แสดงข้อมูลพัฒนาการด้านกายภาพของเด็ก (น้ำหนัก-ส่วนสูง) จากข้อมูลของเด็กในสถานศึกษา ตามที่เชื่อมโยงเข้ามาแล้วในระบบคลังข้อมูลสุขภาพ HDC จากสำนักงาน
ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ พร้อมทั้งระบุความสมส่วนตามเกณฑ์น้ำหนัก-ส่วนสูงของเด็กในแต่ละบุคคล โดยเทียบกับพัฒนาการของเด็กตามคู่มือเฝ้าระวังและส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัย (Developmental Surveillance & Promotion Manual: DSPM) ของกระทรวงสาธารณสุข เพื่อให้สามารถนำข้อมูลไปใช้ในการแจกแจงหรือใช้บ่งชี้จำนวนเด็กที่มีความเสี่ยงในเรื่องของพัฒนาการ
ในด้านกายภาพ (น้ำหนัก-ส่วนสูง) ต่อไป

แดชบอร์ดแสดงข้อมูลพัฒนาการ

ของเด็กปฐมวัยในจังหวัดพิจิตร

เอกสารอ้างอิง

คลังข้อมูลสุขภาพ. (2565). แดชบอร์ดแสดงข้อมูลพัฒนาการของเด็กปฐมวัยในจังหวัดพิจิตร. สืบค้นเมื่อวันที่ 24 มิถุนายน 2566, จาก https://gbdi.depa.or.th/dspm