คู่มือการจัดกระบวนการพัฒนาผู้อำนวยการเล่น PLAY WORKER

“คู่มือการจัดกระบวนการพัฒนาผู้อำนวยการเล่น (Play Worker)” รวบรวมความรู้และประสบการณ์ในการพัฒนาหลักสูตรการพัฒนา ผู้อำนวยการเล่น
(Play Worker) โดยมาจากฐานความเชื่อ ความรู้ และประสบการณ์ว่า การเล่น
เป็นส่วนสำคัญยิ่งของชีวิตเด็ก เป็นพื้นฐานในการดำเนินชีวิตของเด็ก การเรียนรู้
และพัฒนาการของเด็กเริ่มจากการได้เล่น การเล่นของเด็กปฐมวัยและวัยประถม
ศึกษามีความสำคัญและมีคุณค่า มหาศาลเพราะการเรียนรู้ของเด็กในวัยนี้ที่
เหมาะสมคือ “การเรียนรู้ผ่านการเล่นและการเรียนรู้ อย่างมีความสุข” การส่งเสริม
และพัฒนาให้เกิดผู้อำนวยการเล่น (Play Worker) จึงเป็นกลไกที่สำคัญในการสร้าง
กลุ่มบุคคลที่มีความพร้อม ความเข้าใจเรื่องการส่งเสริมพัฒนาการเด็กตามวัย
ผ่านการเล่น ครอบครัวเป็นสถาบันหลักที่อยู่ใกล้ชิดและดูแลเด็ก ฉะนั้นพ่อแม่
รวมถึงผู้ปกครอง สามารถเป็นผู้อำนวยการเล่นของเด็กได้ ผู้ใหญ่ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง
กับการพัฒนาเด็ก อาสาสมัคร ผู้สนใจสามารถร่วมเป็นผู้ดูแลเด็กได้เช่นกัน

เพราะการเล่นเกิดจากความต้องการภายในของเด็กหรือแรงขับจากภายในตัวเด็ก โดยธรรมชาติเด็กทุกคนจึงต้องการการเล่นและได้เล่นอย่างอิสระ
(Free Play) เป็นการเล่นที่เด็ก ๆ สนุกสนาน เพราะการเล่นแบบนี้เด็กจะมีส่วนร่วม
ในการออกแบบการเล่นด้วยตัวเอง การเล่นมีความสำคัญสำหรับเด็กมาก การเล่น
ได้สร้างจินตนาการและสามารถสานต่อแรงบันดาลใจในการใช้ชีวิต เพราะ
ประสบการณ์การเรียนรู้ที่ได้จากการเล่น ช่วยส่งเสริมประสบการณ์ในชีวิตให้กับ
เด็กตั้งแต่แรกเกิด มาร่วมสร้างผู้อำนวยการเล่น (Play Worker) ที่จะช่วยส่งเสริม
การเล่นให้กับเด็กได้เล่นอย่างมีความสุข และเป็นคุณค่าสำคัญอย่างยิ่งต่อการสร้าง
ให้มนุษย์ได้เติบโตอย่างมีวุฒิภาวะ สมบูรณ์ทั้งร่างกาย จิตใจ และจิตวิญญาณ

เอกสารอ้างอิง

ทัตติยา ลิขิตวงษ์, สุนีย์ สารมิตร และประสพสุข โบราณมูล. (2564). การเล่นของเด็กมีความสำคัญและมีคุณค่ามหาศาลเพราะการเรียนรู้ของเด็กในวัยนี้ที่เหมาะสมคือ “การเรียนรู้ผ่านการเล่นและการเรียนรู้อย่างมีความสุข”. สืบค้น 22 กรกฎาคม 2566, จาก https://childimpact.co/learning/play-worker?fbclid=IwAR3pPWNsg-0GAVpXxg8IHWovW8MfINnV_QI5D1NfEOlsYtaCXlNL1lc8–I