เด็กและเยาวชนถูกผลักเข้าสู่โลกออนไลน์โดยขาดฐานที่จำเป็น

จากข้อมูล​ในปี 2564-2565 เด็กและครอบครัวต้องเผชิญกับโควิด-19 ที่ประเทศไทยมีผู้
ติดเชื้อสะสม 4.6 ล้านคน (ศคบ. 2565) และได้มีการประกาศใช้มาตราการพิเศษ และ พ.ร.ก. ฉุกเฉินนานกว่า 2 ปี 4 เดือน และยังพบวิกฤตความเหลื่อมล้ำและพัฒนาการกว่า 61.4 % ของเด็กและเยาวชนที่อายุไม่เกิน 21 ปี อาศัยอยู่ในครอบครัวที่มีรายได้ไม่เพียงพอต่อค่าใช้จ่ายในการเลี้ยงดูโดยเฉลี่ย ทั้งนี้มีข้อมูลจาก Mob Data Thailand และศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน ปี 2565 พบว่าวิกฤตสังคมและการเมืองที่ช่วงที่ผ่านมามีเด็กและเยาวชนจัดชุมชุม 193 ครั้งในปี 2563 และมีส่วนร่วม
ในการชุมนุม 1,838 ครั้ง และถูกดำเนินคดีแล้วกว่า 279 ราย

ด้วยเหตุนี้ ศูนย์เรียนรู้สุขภาวะ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) สำนักสนับสนุนสุขภาวะเด็ก เยาวชน และครอบครัว ​ร่วมกับศูนย์ความรู้นโยบายสาธารณะเพื่อการเปลี่ยนแปลง (101 Public Policy Think Tank หรือ 101 PUB) จัดเสวนาสาธารณะ “เด็กและครอบครัวไทยใน 3 วิกฤต : รายงานสถานการณ์เด็กและครอบครัว ประจำปี 2565” เปิดตัว ศูนย์ความรู้นโยบายเด็กและครอบครัว หรือ “คิด for คิดส์”

โดย ณัฐยา บุญภักดี ผู้อำนวยการสำนักสนับสนุนสุขภาวะเด็ก เยาวชน และครอบครัว สสส. กล่าวว่า การจัดตั้ง  ‘คิด for คิดส์’ เป็นหมุดหมายสำคัญที่ สสส. ต้องการขับเคลื่อนงานเด็ก เยาวชน และครอบครัวสู่อนาคต บนฐานของความรู้ที่มีคุณภาพ ไม่แปลกแยกจากโลกใหม่ เน้นการทำงานความรู้และสื่อสารกับสังคม โดยเน้นกลุ่มเป้าหมายเป็นคนรุ่นใหม่ทุกกลุ่ม และภาคีเครือข่ายของ สสส. ให้เข้ามาช่วยกันส่งเสียง ตั้งโจทย์ และทำงานร่วมกัน เพื่อจุดประกายและสร้างสังคมที่มีประโยชน์
กับเด็กและเยาวชน

ทั้งนี้ พบว่า วิกฤตส่งผลต่อชีวิตเด็กและครอบครัวไทยอย่างมีนัยสำคัญ โดยเฉพาะอย่างยิ่งปัญหาที่เด็กและเยาวชนถูกผลักเข้าสู่โลกออนไลน์โดยขาดฐานที่จำเป็น การปิดสถานที่เพื่อชะลอ
การแพร่ระบาดส่งผลให้เด็กและเยาวชนเข้าสู่โลกออนไลน์อย่างรวดเร็ว 2-3 ปีที่ผ่านมา พบว่าเด็ก
ส่วนใหญ่เริ่มใช้สื่อดิจิทัล และใช้เป็นเวลานานถึง 12 ชั่วโมง ซึ่งก็พบว่าเด็กและเยาวชนชนต้องเข้าสู่โลกออนไลน์โดยขาดทักษะ การรู้เท่าทันสื่อสารสนเทศและดิจิทัล (MIDL) ขณะที่หลายคนถูกผลัก
เข้าสู่โลกออนไลน์โดยไม่มีแม้กระทั่งอินเตอร์เน็ต กว่าร้อยละ 2.1 ของเด็กและเยาวชนอายุ 6 ถึง 24 ปี โดยมีข้อเสนอนโยบาย คือ ฟื้นฟูผลกระทบ ด้วยการเน้นกิจกรรมที่เน้นปฏิสัมพันธ์ แหล่งเรียนรู้และนันทนาการ ที่มีคุณภาพ สร้างฐานที่จำเป็นและเท่าเทียม ทั้งด้านทักษะและอุปกรณ์ เตรียมรับวิกฤตใหม่

อย่างไรก็ดี การถูกผลักเด็กและเยาวชนเข้าสู่โลกออนไลน์โดยขาดทักษะและเครื่องมือที่เพียงพอ อาจส่งผลร้ายในระยะยาวต่อตัวเด็กและเยาวชน ตัดขาดพวกเขาออกจากปฏิสัมพันธ์ในโลกจริง เพิ่มความเสี่ยงต่อการตกเป็นเหยื่อของอาชญากรรมและผลิตซ้ำข้อมูลเท็จ รวมไปถึงส่งผลให้พวกเขาต้องเผชิญปัญหาเรื่องการพัฒนากล้ามเนื้อ สายตา สติปัญญา อารมณ์และบุคลิกภาพของเด็ก
ในอนาคตด้วย

เอกสารอ้างอิง

อัญชัญ อันชัยศรี. (2566). ดันนโยบายเด็กและครอบครัว รับมือการเปลี่ยนแปลงโลกในอนาคต. สืบค้นเมื่อ 20 ตุลาคม 2566 จาก https://theactive.net/news/learning-education-20220823/