สอนเด็กผ่านการเล่น กรณีศึกษา: โรงเรียนอนุบาลในญี่ปุ่น

โรงเรียนอนุบาลโคโฮขุ ในแถบที่เป็นเนินของโยโกฮามา ซ่อนอยู่ระหว่างทางยกระดับที่การจราจรขวักไขว่ อพาร์ทเมนต์ และถนนชานเมือง ด้วยความมุ่งมั่นจะใช้ประโยชน์จากภูมิประเทศตามธรรมชาติให้มากที่สุด นักภูมิสถาปัตย์ ได้ทำงานกับสถาปนิกอย่างใกล้ชิด เพื่อให้พื้นที่ทั้งหมดมอบความท้าทายทางร่างกาย และหล่อเลี้ยงความสุขทางอารมณ์ของเด็ก นอกจากนั้นพื้นผิวกลางแจ้งหลักที่โคโฮขุเป็นดิน โดยจะใช้เนินดิน ตลิ่ง ต้นไม้ และเครื่องเล่นเก่าที่มีอยู่แล้วให้เป็นประโยชน์ เช่น การใช้พื้น “ดิน” เด็กสามารถขุดได้ ใช้ชอล์กขีดเขียนได้ ขี่จักรยานผ่านได้ และจุดที่พื้นผิวเรียบและแข็งแรง ก็เหมาะกับการเล่นก่อสร้างและเล่นน้ำ แต่สิ่งที่โดดเด่นจริงๆ คือความสำคัญของการร่วมกันทำกิจวัตร และครูกับเด็กที่ถูกทำให้เป็นเรื่องง่าย

ซึ่ง อากิโกะ ฮายาชิได้อธิบายแนวคิด มิมาโมรุ ซึ่งแปลคร่าวๆ ได้ว่า “เฝ้ามองและดูแล” และอธิบายว่าชาวญี่ปุ่นใช้วิธี “ปล่อยมือ” มากกว่าในหลักสูตร “ในห้องเรียนก่อนปฐมวัย แนวคิดทางวัฒนธรรมที่เรียกว่า “มิมาโมรุ” คือการที่ครูเข้าไปแทรกแซงกระบวนการพัฒนาการรับรู้ สังคม และอารมณ์ของเด็กน้อยมาก เพราะความที่กระทรวงศึกษาไม่ได้กำหนดหลักเกณฑ์ไว้มากนัก ผู้อำนวยการ ครู และเด็ก จึงได้รับการส่งเสริมให้หาวิธีการของตัวเอง ไม่ใช่โดยลำพัง แต่เป็นกลุ่ม

จากข้างต้นจะเห็นได้ว่าโรงเรียนอนุบาลโคโฮขุ เป็นโรงเรียนที่เน้นแนวคิดที่เป็นธรรมชาติ ให้เด็กได้เรียนรู้ผ่านสื่อและการปฏิบัติจากธรรมชาติ โดยครูมีหน้าที่เป็นผู้ส่งเสริม สนับสนุนให้เด็กได้คิดค้นหาวิธีเรียนรู้ด้วยตนเอง ซึ่งหากใครอยากรู้จักโรงเรียนอนุบาลโคโฮขุให้ลึกซึ้งมากยิ่งขึ้น สามารถอ่านเพิ่มเติมได้ในบทความ “สอนเด็กผ่านการเล่น กรณีศึกษา : โรงเรียนอนุบาลในญี่ปุ่น”

เอกสารอ้างอิง

  • koolmonday (นามแฝง). (2565). สอนเด็กผ่านการเล่น กรณีศึกษา: โรงเรียนอนุบาลในญี่ปุ่น. สืบค้น 9 พฤศจิกายน 2565, จาก : https://happychild.thaihealth.or.th/?p=149649