แนวโน้มอาหารและโภชนาการกับ NCDs

จากการสํารวจสถานการณ์เด็กและสตรีในประเทศไทยครั้งที่ 3-6 
ของสำนักงานสถิติแห่งชาติ และองค์การยูนิเซฟในเด็กอายุต่ำกว่า 5 ปี
ทั่วประเทศ พบความชุกของภาวะเตี้ยและผอมลดลงจาก ปี พ.ศ. 2548 
ถึง พ.ศ. 2559 แต่กลับเพิ่มสูงขึ้นอีกในปี พ.ศ. 25625 ซึ่งสูงกว่าเป้าหมาย
และยังไม่มีแนวโน้มว่าจะเป็นไปตามที่ตั้งไว้ ในขณะที่ความชุกของภาวะ
น้ำหนักเกินหรือเริ่มอ้วน (overweight) และอ้วนในช่วง 14 ปีนี้เปลี่ยนแปลง
ขึ้นลงและเพิ่มขึ้นเล็กน้อยในปี พ.ศ. 2562 แต่ยังเป็นไปตาม เป้าหมาย

การบริโภคอาหารที่มีพลังงานสูงแต่คุณค่าโภชนาการต่ำ นำไปสู่โรคอ้วน และโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (NCDs) ส่วนอาหารที่ช่วยลดความเสี่ยง คือ ผักและผลไม้ โดยกลุ่มเด็กและเยาวชนมีพฤติกรรมการบริโภคที่เสี่ยงต่อโรคไม่ติดต่อเรื้อรังมากกว่าวัยอื่น การบริโภคผักและผลไม้ของคนไทยยังไม่ถึงเกณฑ์ที่แนะนำ
ส่วนผลิตภัณฑ์อาหารที่เสี่ยงต่อการเกิดโรคไม่ติดต่อเรื้อรังมีแนวโน้มการผลิต
และจำหน่ายเพิ่มขึ้นตามจำนวนประชากร และวิถีชีวิตของผู้บริโภคในยุคปัจจุบัน

สมาคมโภชนาการแห่งประเทศไทย ในพระราชูปถัมภ์สมเด็จพระเทพ
รัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ได้ร่วมกับกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริม
สุขภาพ (สสส) ได้จัดทำหนังสือแนวโน้มอาหารและโภชนาการกับ NCDs เล่มนี้ขึ้น
เพื่อเป็นประโยชน์สำหรับผู้ที่เกี่ยวข้องกับการขับเคลื่อนงานด้านอาหาร
และโภชนาการเพื่อสุขภาวะของสังคมให้ทันกับการเปลี่ยนแปลงในอนาคต
ตามที่ตั้งเป้าหมายไว้

เอกสารอ้างอิง

ลัดดา เหมาะสุวรรณ, เยาวลักษณ์ รูปปัทม์. (2565). แนวโน้มอาหารและโภชนาการกับ NCDs. สืบค้น 27 มกราคม 2567 จาก https://www.thaihealth.or.th/?p=315940