แนวทางการฟื้นฟูการศึกษา ภายหลังสถานการณ์โควิด – 19

หลังวิกฤต Covid -19 ได้สร้างผลกระทบกับระบบการศึกษาของประเทศ โดยเฉพาะปัญหาการเรียนรู้ถดถอย หรือ Learning Loss สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษาได้รวบรวมข้อเสนอแนะขององค์การยูนิเซฟ (UNICEF) ประเทศไทยในการฟื้นฟูการศึกษาผ่านแนวทาง RAPID เพื่อให้เด็กไทยทุกคนได้รับการศึกษาและลดการสูญเสียการเรียนรู้อย่างเร่งด่วน ดังนี้

RReach every child and retain them to school การพัฒนาระบบเตือนภัยและให้ความสำคัญกับระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการศึกษา

AAssess learning levels การประเมินระดับการเรียนรู้ของผู้เรียนจะช่วยชี้นำแนวทางกิจกรรม

P – Prioritize teaching the fundamentals การจัดลำดับความสำคัญและปรับปรุงเนื้อหาให้สอดคล้องกับสภาพการเรียนการสอนในปัจจุบัน

I – Increase catch-up learning การจัดการเรียนรู้ที่เน้นตามความต้องการของผู้เรียนมากกว่าอายุหรือผลคะแนน

D – Develop psychosocial health and well-being การดูแลสุขภาพ ความปลอดภัย และความเป็นอยู่ที่ดีเป็นสิ่งที่จำเป็นสำหรับการฟื้นฟูเรียนรู้ของผู้เรียน

เมื่อผู้เรียนที่กลับเข้าสู่โรงเรียน ควรจะได้รับการจัดการเรียนการสอนที่ปรับให้เหมาะสมทันกับการเรียนรู้ที่สูญเสียไป เพื่อตอบสนองต่อการเรียนรู้ สุขภาพกาย สุขภาพจิตและสังคม แต่อย่างไรก็ดีการพื้นฟูการศึกษาต้องอาศัยการมีส่วนร่วมของชุมชนรวมทั้งการจัดสรรเงินทุนอย่างเหมาะสมเพื่อการฟื้นฟูการศึกษาอย่างมีประสิทธิภาพต่อไป

เอกสารอ้างอิง

  • สำนักวิจัยและพัฒนาการศึกษา. (2565). แนวทางการฟื้นฟูการศึกษา ภายหลังสถานการณ์โควิด – 19. สืบค้น 30 ตุลาคมม 2565, จาก : https://drive.google.com/file/d/1Mifd9AlkiAauOHPokdArsFDqpz2vZURy/view