เด็กทุกคนมีสิทธิที่จะมีชีวิตรอดและเจริญเติบโต โภชนาการที่เหมาะสมสามารถมีอิทธิพลต่อชีวิตของเด็กโดยเป็นการส่งเสริมพัฒนาการของร่างกาย การรับรู้ และอารมณ์ ทั้งยังช่วยส่งเสริมสุขภาพและเป็นรากฐานที่แข็งแกร่ง เพื่อให้เด็กบรรลุศักยภาพสูงสุดของตน เด็กที่ได้รับสารอาหารที่ดียังมีความสามารถที่ดีกว่าในการเข้าร่วมเป็นส่วนหนึ่งของชุมชน และพวกเขาจะพร้อมมากกว่าในการรับมือกับโรค ภัยพิบัติ และวิกฤตอื่น ๆ ช่วงเริ่มตั้งครรภ์จนถึงอายุสองปีเป็นช่วงที่สมองและร่างกายของเด็กนั้นเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว ช่วงเวลา 1,000 วันแรกของชีวิตจึงเป็นหน้าต่างสำคัญที่โภชนาการจะสามารถสร้างความแตกต่างให้กับเด็กระหว่างการใช้ชีวิตให้รอดหรือการเจริญเติบโต หลังจากสองปีแรก ผลที่เกิดจากการขาดสารอาหารนั้นแก้ไขได้ยาก แต่ก็ยังคงมีโอกาสที่จะพัฒนาขึ้นได้อีก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงวัยรุ่น ซึ่งเป็นช่วงที่สองของการเจริญเติบโตอย่างก้าวกระโดด
การขาดสารอาหารของเด็กอายุต่ำกว่า 5 ปีนั้นเป็นปัจจัยสำคัญที่มีส่วนต่อการเจ็บป่วยและการเสียชีวิต เด็กที่มีภาวะผอมแห้ง (มีน้ำหนักน้อยเมื่อเทียบกับส่วนสูง) จะมีภูมิคุ้มกันที่อ่อนแอและมีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อและการเสียชีวิตเพิ่มขึ้น หากมีชีวิตรอดพวกเขาก็จะเสี่ยงต่อการเจริญเติบโตที่ไม่เป็นไปตามวัยและพัฒนาการที่ล่าช้าในระยะยาว การขาดสารอาหารเรื้อรังยังส่งผลให้เตี้ยแคระแกร็น (เตี้ยเมื่อเทียบกับอายุ ซึ่งไม่เพียงแต่กระทบการเจริญเติบโตของเด็ก แต่ยังสามารถก่อให้เกิดความล่าช้าในพัฒนาการด้านการรับรู้ และการเคลื่อนไหวด้วย
จากรายงานช่องว่างและความเหลื่อมล้ำ : เพื่อเด็กทุกคนในประเทศไทยได้เติบโตอย่างเท่าเทียมของยูนิเซฟ ประเทศไทย พบว่า ในปี 2565 สัดส่วนของเด็กอายุต่ำกว่า 5 ปีในประเทศไทยที่เตี้ยแคระแกร็น (มีความสูงที่น้อยเกินไปเมื่อเทียบกับอายุ) ไม่ได้มีการเปลี่ยนแปลงไปมากนักตั้งแต่ปี 2548 ซึ่งยังคงเป็นปัญหาที่ยังคงอยู่ ไม่สามารถแก้ไขให้หมดไปได้
จากรายงานช่องว่างและความเหลื่อมล้ำ : เพื่อเด็กทุกคนในประเทศไทยได้เติบโตอย่างเท่าเทียมของยูนิเซฟ ประเทศไทย พบว่า ในปี 2565 สัดส่วนของเด็กอายุต่ำกว่า 5 ปีในประเทศไทยที่เตี้ยแคระแกร็น (มีความสูงที่น้อยเกินไปเมื่อเทียบกับอายุ) ไม่ได้มีการเปลี่ยนแปลงไปมากนักตั้งแต่ปี 2548 ซึ่งยังคงเป็นปัญหาที่ยังคงอยู่ ไม่สามารถแก้ไขให้หมดไปได้
นอกจากนั้นยังพบว่า เด็กไทยยังประสบกับปัญหาภาวะน้ำหนักเกินอีกด้วย จากการสำรวจพบว่าเด็กที่เกิดในกรุงเทพฯ ประสบกับปัญหาภาวะน้ำหนักเกินมากที่สุดอยู่ที่ร้อยละ 15 รองลงมาคือภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนืออยู่ที่ร้อยละ 12 ภาคกลางอยู่ที่ร้อยละ 10 และภาคใต้อยู่ที่ร้อยละ 8 โดยครอบครัวที่พูดภาษาไทยมีภาวะน้ำหนักเกินมากกว่าครอบครัวที่พูดภาษาอื่นถึงร้อยละ 12 และเป็นเด็กที่เกิดจากครอบครัวที่ร่ำรวยมากที่สุดถึงร้อยละ 13
ดังนั้น การที่เด็กมีน้ำหนักเกินหรืออ้วนจึงอาจส่งผลต่อความเสี่ยงที่เพิ่มขึ้นของภาวะน้ำหนักเกินและโรคอ้วนในวัยผู้ใหญ่ ซึ่งสามารถก่อให้เกิดปัญหาทางสุขภาพและโรคต่าง ๆ เช่น โรคเบาหวานชนิดที่ 2นอกจากนี้เด็กที่มีน้ำหนักเกินยังมีความเสี่ยงมากกว่าที่จะเกิดปัญหาทางสุขภาพจิต และความมั่นใจในตนเองต่ำ ซึ่งมีสาเหตุมาจากการตีตรา (รวมทั้งการตีตราตนเอง) ภาวะทุพโภชนาการแบบสองด้านในประเทศไทย ซึ่งมีทั้งเด็กที่โภชนาการขาดและโภชนาการเกิน นับเป็นความท้าทายทางสาธารณสุขที่เพิ่มขึ้นและเป็นความกดดันอย่างหนักต่อระบบสาธารณสุข ซึ่งส่งผลถึงการลดผลิตภาพทางเศรษฐกิจอีกด้วย
หากท่านใดสนใจสามารถดาวน์โหลดเอกสารฉบับเต็มได้ที่
https://www.unicef.org/thailand/media/12781/file/Addressing%20the%20Gap%20(MICS2022)%20TH.pdf.pdf