รายงานผลการประเมินพัฒนาการนักเรียนที่จบหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2560 ปีการศึกษา 2563

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ได้ดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลผลการประเมินพัฒนาการนักเรียนที่จบหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2560 ปีการศึกษา 2563 จากโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาครอบคลุม 183 แห่ง โรงเรียนกลุ่มตัวอย่าง 2,365 โรงเรียน นักเรียนกลุ่มตัวอย่างที่เก็บรวบรวมข้อมูลได้ 14,597 คน คิดเป็นร้อยละ 99.62 ของนักเรียนกลุ่มตัวอย่างทั้งหมดทำการวิเคราะห์ผลการประเมินพัฒนาการ นำเสนอตามลำดับ ดังนี้

ตอนที่ 1 ผลการประเมินพัฒนาการของนักเรียนที่จบหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2560 ปีการศึกษา 2563 ระดับประเทศ

ตาราง 1 ร้อยละนักเรียนตามระดับคุณภาพพัฒนาการในภาพรวมทุกด้าน ระดับประเทศ

จากตาราง 1 พบว่า พัฒนาการในภาพรวมทุกด้าน ระดับประเทศ นักเรียนส่วนใหญ่มีพัฒนาการอยู่ในระดับดีสูงสุด คิดเป็นร้อยละ 91.46 รองลงมา คือ ระดับพอใช้ ร้อยละ 8.49 และระดับปรับปรุง ร้อยละ 0.05

ตาราง 2 ร้อยละนักเรียนตามระดับคุณภาพรายพัฒนาการ ระดับประเทศ

จากตารางที่ 2 และแผนภาพที่ 1  พบว่า นักเรียนส่วนใหญ่มีระดับคุณภาพรายพัฒนาการ ในระดับประเทศอยู่ในระดับดีทุกด้าน โดยพัฒนาการด้านอารมณ์ จิตใจ มีผลการประเมินระดับดีสูงสุด ร้อยละ 96.87 รองลงมาคือ พัฒนาการด้านสังคม ร้อยละ 96.55 พัฒนาการด้านร่างกาย ร้อยละ 83.35 และพัฒนาการด้านสติปัญญา ร้อยละ 80.17 ตามลำดับ

ตอนที่ 2 ผลการประเมินพัฒนาการของนักเรียนที่จบหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2560 ปีการศึกษา 2563 จำแนกตามเพศ ขนาดโรงเรียน และประเภทโรงเรียน

ตาราง 3 ร้อยละนักเรียนตามระดับคุณภาพรายพัฒนาการ จำแนกตามเพศ

จากตารางที่ 3 และแผนภาพที่ 2  พบว่า นักเรียนหญิงและนักเรียนชายส่วนใหญ่่มีพัฒนาการในระดับดีทุกด้าน โดยนักเรียนหญิงมีระดับคุณภาพรายพัฒนาการในระดับดีสูงกว่านักเรียนชายทุกด้าน เมื่อพิจารณาจำแนกตามเพศ พบว่า

  • นักเรียนชาย มีพัฒนาการด้านอารมณ์ จิตใจ ในระดับดีสูงสุด ร้อยละ 95.79 รองลงมาคือ พัฒนาการด้านสังคม ร้อยละ 95.42 พัฒนาการด้านร่างกาย ร้อยละ 80.77 และพัฒนาการด้านสติปัญญา ร้อยละ 76.71 ตามลำดับ
  • นักเรียนหญิง มีพัฒนาการด้านอารมณ์ จิตใจ ในระดับดีสูงสุด ร้อยละ 97.94 รองลงมาคือ พัฒนาการด้านสังคม ร้อยละ 97.67 พัฒนาการด้านร่างกาย ร้อยละ 85.90 และพัฒนาการด้านสติปัญญา ร้อยละ 83.61 ตามลำดับ
ตาราง 4 ร้อยละนักเรียนตามระดับคุณภาพรายพัฒนาการ จำแนกตามขนาดโรงเรียน

จากตารางที่ 4 และแผนภาพที่ 3 ในภาพรวมนักเรียนส่วนใหญ่ในโรงเรียนทุกขนาดมีพัฒนาการอยู่ในระดับดีทุกด้าน โดยนักเรียนในโรงเรียนขนาดใหญ่โรงเรียนขนาดกลาง และโรงเรียนขนาดเล็กมีร้อยละพัฒนาการระดับดี ด้านอารมณ์ จิตใจ สูงสุด รองลงมาคือ ด้านสังคม ด้านร่างกาย และด้านสติปัญญา ตามลำดับ เมื่อพิจารณาจำแนกตามขนาดโรงเรียน พบว่า

  • นักเรียนในโรงเรียนขนาดเล็ก มีพัฒนาการด้านอารมณ์ จิตใจ ระดับดีสูงสุด ร้อยละ 94.85 รองลงมาคือ พัฒนาการด้านสังคม ร้อยละ 94.52 พัฒนาการด้านร่างกาย ร้อยละ 80.29 และพัฒนาการด้านสติปัญญา ร้อยละ 75.73 ตามลำดับ
  • นักเรียนในโรงเรียนขนาดกลาง มีพัฒนาการด้านอารมณ์ จิตใจ ระดับดีสูงสุด ร้อยละ 97.04 รองลงมาคือ พัฒนาการด้านสังคม ร้อยละ 96.70 พัฒนาการด้านร่างกาย ร้อยละ 84.28 และพัฒนาการด้านสติปัญญา ร้อยละ 79.64 ตามลำดับ
  • นักเรียนในโรงเรียนขนาดใหญ่ พัฒนาการด้านอารมณ์ จิตใจ ระดับดีสูงสุด ร้อยละ 98.13 รองลงมาคือ พัฒนาการด้านสังคม ร้อยละ 97.84 พัฒนาการด้านร่างกาย ร้อยละ 84.40 และพัฒนาการด้านสติปัญญา ร้อยละ 84.09 ตามลำดับ
ตาราง 5 ร้อยละนักเรียนตามระดับคุณภาพรายพัฒนาการ จำแนกตามประเภทโรงเรียน

จากตาราง 5 และภาพ 4 พบว่า ในภาพรวมนักเรียนส่วนใหญ่ในโรงเรียนทุกประเภท มีพัฒนาการอยู่ในระดับดีทุกด้าน โดยนักเรียนในโรงเรียนอนุบาลประจำจังหวัด มีพัฒนาการด้านสังคม ในระดับดีสูงสุด รองลงมาคือ พัฒนาการด้านอารมณ์ จิตใจ พัฒนาการด้านสติปัญญา และพัฒนาการด้านร่างกาย ตามลำดับ นักเรียนในโรงเรียนอนุบาลประจำเขตพื้นที่การศึกษามีพัฒนาการด้านอารมณ์ จิตใจ ในระดับดีสูงสุด รองลงมา คือ พัฒนาการด้านสังคม พัฒนาการด้านสติปัญญา และพัฒนาการด้านร่างกาย ตามลำดับ ส่วนนักเรียนในโรงเรียนศูนย์เด็กปฐมวัยต้นแบบและโรงเรียนทั่วไป ส่วนใหญ่มีพัฒนาการด้านอารมณ์ จิตใจ ในระดับดีสูงสุด รองลงมาคือ พัฒนาการด้านสังคม พัฒนาการด้านร่างกาย และพัฒนาการด้านสติปัญญา ตามลำดับ เมื่อพิจารณาตามประเภทโรงเรียน พบว่า

  • นักเรียนในโรงเรียนอนุบาลประจำจังหวัด มีพัฒนาการด้านสังคม ในระดับดีสูงสุด ร้อยละ 99.07 รองลงมาคือ ด้านอารมณ์ จิตใจ ร้อยละ 98.77 ด้านสติปัญญา ร้อยละ 90.23 และด้านร่างกาย ร้อยละ 86.63 ตามลำดับ
  • นักเรียนในโรงเรียนอนุบาลประจำเขตพื้นที่การศึกษา มีพัฒนาการด้านอารมณ์ จิตใจในระดับดีสูงสุด ร้อยละ 98.65 รองลงมาคือ ด้านสังคม ร้อยละ 98.38 ด้านสติปัญญา ร้อยละ 86.58 และด้านร่างกาย ร้อยละ 85.32 ตามลำดับ

เอกสารอ้างอิง

  • สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ. (2565). รายงานผลการประเมินพัฒนาการนักเรียนที่จบหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2560 ปีการศึกษา 2563. สืบค้น 3 ธันวาคม 2565, จาก http://academic.obec.go.th/web/document/view/167