สถิติการเรียนในระดับปฐมวัย

เนื่องจากการลงทุนในเด็กตั้งแต่เริ่มแรกเป็นการสร้างรากฐานสำหรับการพัฒนาและการเรียนรู้ในอนาคตซึ่งส่งผลดีในระยะยาวต่อสุขภาพ โภชนาการ การศึกษา และการทำงานในอนาคต ประเด็นดังกล่าวเป็นหนึ่งในนโยบายที่รัฐบาลไทยให้ความสำคัญ ช่วงต้นปี พ.ศ. 2562 ได้มีการประกาศใช้พระราชบัญญัติการพัฒนาเด็กปฐมวัย นับเป็นการปูทางในการเข้าถึงบริการที่พัฒนาเด็กปฐมวัยอย่างมีคุณภาพสำหรับเด็กอายุไม่เกิน 6 ปี มากกว่าสี่ล้านคน รวมไปถึงหญิงตั้งครรภ์ แผนพัฒนาเด็กปฐมวัย พ.ศ. 2564-2570 ซึ่งผ่านความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรี กำหนดยุทธศาสตร์และกิจกรรมด้วยการบูรณาการหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อจัดบริการและสร้าง
สภาพแวดล้อมที่เอื้อให้เด็กเล็กสามารถพัฒนาได้เต็มตามศักยภาพ

จากการสำรวจจากประชากรเด็กอายุ 3-4 ปี จำนวน 4,583 คน ที่กำลังเรียนในระดับปฐมวัยทั่วประเทศ สามารถสรุปได้ดังนี้

ตาราง LN.1.1 แสดงร้อยละของเด็กอายุ 3 และ 4 ปี ที่กำลังเรียนในระดับปฐมวัย
(ตัวชี้วัด MICS LN.1)

จากข้อมูลในตาราง เป็นการสำรวจประชากรเด็กอายุระหว่าง 3-4 ปี จำนวน 4,583 คน
ที่กำลังเรียนในระดับปฐมวัย แบ่งเป็นเพศชายร้อยละ 75.3 และเพศหญิงร้อยละ 74.2 โดยเป็นเด็ก
ที่อยู่เขตเทศบาลร้อยละ 69.7 อยู่นอกเทศบาล ร้อยละ 78.5 และพบว่าเด็กที่อยู่ในภาคตะวันออก
เฉียงเหนือมีจำนวนมากที่สุด คือ ร้อยละ 83.8 รองลงมาคือ ภาคเหนือร้อยละ 82.4 ภาคใต้
ร้อยละ 76.7 ภาคกลางร้อยละ 63.6 และกรุงเทพมหานครร้อยละ 58.2 ตามลำดับ ซึ่งในการสำรวจ
ยังพบว่า การศึกษาของแม่เด็กส่วนใหญ่อยู่ในระดับสูงกว่ามัธยมศึกษาคิดเป็นร้อยละ 79.1
รองลงมาคือ ระดับประถมศึกษาร้อยละ 78.6 มัธยมศึกษาตอนปลายร้อยละ 71.1 มัธยมศึกษา
ตอนต้นร้อยละ 66.9 และไม่มีการศึกษาร้อยละ 48.2 นอกจากนั้นยังพบว่า การใช้ภาษาพูด
ในครัวเรือนของหัวหน้าครอบครัวเด็ก เป็นการใช้ภาษาไทยเพื่อสื่อสารมากที่สุด คิดเป็นร้อยละ
74.9 และไม่ใช้ภาษาไทยในการสื่อสารคิดเป็นร้อยละ 73.4 และในส่วนของดัชนีความมั่งคั่ง
ของครัวเรือนพบว่า มีครอบครัวที่อยู่ในระดับร่ำรวยมากที่สุด คือร้อยละ 78.0 รองลงมาคือ
ระดับยากจนมากร้อยละ 74.6 ระดับปานกลางร้อยละ 74.5 ระดับร่ำรวยมากร้อยละ 74.0
และระดับยากจนร้อยละ 73.0 ตามลำดับ

ดังนั้น ในการเตรียมความพร้อมให้เด็กก่อนที่จะเข้าเรียนในระดับประถมศึกษา สามารถทำได้โดยส่งเด็กเข้าเรียนในหลักสูตรปฐมวัยหรือก่อนวัยเรียน ทั้งนี้หลักสูตรปฐมวัยจะมีการจัดการองค์ประกอบต่าง ๆ ที่เหมาะสมในการเรียนรู้ของเด็ก ซึ่งแตกต่างจากการบริการพี่เลี้ยงเด็ก
และการรับเลี้ยงเด็กที่ไม่มีการจัดการศึกษา และการเรียนรู้อย่างเป็นระบบ

เอกสารอ้างอิง

ยูนิเซฟประเทศไทย. (2566). รายงานผลฉบับสมบูรณ์ การสำรวจสถานการณ์เด็กและสตรีในประเทศไทย พ.ศ. 2565. สืบค้น 18 สิงหาคม 2566, จาก https://shorturl.asia/X06q7