การเฝ้าระวัง ป้องกัน ควบคุมโรคติดต่อในเด็กปฐมวัย โดยชุมชนท้องถิ่น – การจัดการในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กสำหรับการเฝ้าระวัง ป้องกัน ควบคุมโรคติดต่อในเด็กปฐมวัย โดยชุมชนท้องถิ่นในการจัดการในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ประกอบด้วย
1. ห้องเรียนหรือห้องนอน จะต้องมีแผนงานการทำความสะอาด ฆ่าเชื้อ เครื่องนอน
สิ่งของ อุปกรณ์ ของเล่น ทั้งแบบรายวัน รายสัปดาห์ และรายเดือน จัดให้มีการอบห้องด้วยแสง
ยูวีหลังเลิกเรียนวันศุกร์หรือวันหยุดเสาร์ – อาทิตย์ ครูผู้ดูแลควรมีสัดส่วนที่ 1: 5 – 8 คน คือ
ครู 1 คนต่อจำนวนเด็ก 5 – 8 คนในการดูแลตลอดวัน เมื่อพบเด็กมีอาการผิดปกติต้องรีบแยก
เด็กทันที สวมหน้ากากอนามัย หรือหน้ากากผ้าให้เด็กป่วยตลอดเวลา มีแอลกอฮอล์เจลสำหรับ
ล้างมือเพียงพอ จัดพื้นที่เรียน เล่นสำหรับเด็กรายบุคคลให้มีระยะห่าง 1 – 2 เมตร ขณะเรียน
หรือทำกิจกรรม ให้เด็กสวมหน้ากากอนามัย หรือหน้ากากผ้าตลาดเวลาชุดเสริมพัฒนาการ
อุปกรณ์การเล่นควรจัดเพียงพอคนละ 1ชุด และระวังการแลกหน้ากากอนามัยหรือการใช้
ของร่วมกับคนอื่น
2. การจัดการตัวเองของครู ผู้ดูแลเด็ก จะต้องสวมหน้ากากอนามัยหรือหน้ากากผ้า
ตลอดเวลาที่ดูแลหรือทำกิจกรรมร่วมกับเด็ก ใช้แอลกอฮอล์ทำความสะอาดมือก่อนและหลัง
สัมผัสตัวเด็ก เมื่อเดินทางถึง ศพด. จะต้องล้างมือ วัดไข้ สวมหน้ากากอนามัย หรือหน้ากากผ้า
เปลี่ยนเสื้อผ้า ในการเก็บ หรือทิ้งหน้ากากอนามัยหรือหน้ากากผ้าที่ใช้แล้วจะต้องใส่ถุงมัดปิด
ให้สนิทก่อนทิ้งทุกครั้ง และต้องสังเกตอาการผิดปกติของตนและผู้ใกล้ชิด รวมถึงการประเมิน
ประวัติคนในครอบครัวที่ป่วยสัมผัสกับคนที่เดินทางจากพื้นที่เสี่ยง
3. จุดรับส่งเด็กปฐมวัย จะต้องมีจุดประเมินตรวจร่างกายเพื่อประเมินความผิดปกติ วัดไข้
โดยเครื่องสแกนผู้ปกครอง เด็กต้องสวมหน้ากากอนามัย หรือหน้ากากผ้า มีการล้างมือ ล้างเท้า
ด้วยน้ำสะอาด และถูสบู่อย่างถูกวิธีและมีการลงบันทึกผลตรวจสุขภาพประจำวัน
4. รถรับส่งเด็กปฐมวัย ผู้รับส่ง เด็กโดยสารต้องสวมหน้ากากอนามัย หรือหน้ากากผ้าตลอดเวลา จัดที่นั่งให้เว้นระยะห่างพอเหมาะ ทำความสะอาดราวจับ เก้าอี้ ที่พักแขน ก่อนและหลังรับ – ส่ง และต้องมีแอลกอฮอล์เจลสำหรับทำความสะอาดมือ
5. การปฏิบัติเมื่อพบเด็กป่วย ประเมินการเจ็บป่วยและความเสี่ยง ไม่พบความเสี่ยงต่อโรคติดต่อ ให้แจ้งผู้ปกครอง พาไปพบแพทย์ และพักอยู่ที่บ้าน ถ้าพบว่ามีความเสี่ยงต่ำ ให้แยกเด็ก
จากกลุ่มอื่นทันที แจ้งผู้ปกครองและนำส่งสถานพยาบาล ทำความสะอาดเครื่องเล่น ของเล่น
สถานที่ และใช้แนวทางการกักตัว 14 วัน แต่ถ้าพบว่ามีความเสี่ยงสูง ให้แยกเด็กจากกลุ่มอื่นทันที
แจ้งผู้ปกครอง และนำส่งสถานพยาบาล ทำความสะอาดเครื่องเล่นของเล่น สถานที่ และให้การดูแล
ตามแนวทางความเสี่ยงสูง (เก็บตัวอย่าง กักตัวผู้ใกล้ชิด สัมผัส)