คู่มือการให้บริการช่วยเหลือในระยะแรกเริ่มและการศึกษาแบบเรียนรวมในระดับปฐมวัย สำหรับครู

คู่มือฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างองค์ความรู้ และทักษะแก่ครู
และผู้ปกครองในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนและการดูแลเด็กปฐมวัย
ในรูปแบบการให้บริการช่วยเหลือในระยะแรกเริ่ม และการศึกษาแบบเรียน
รวมการสร้างเครือข่ายศูนย์การบริการช่วยเหลือในระยะแรกเริ่มที่ส่งเสริม
สนับสนุนการเรียนรู้แบบเรียนรวมสำหรับเด็กที่มีความต้องการพิเศษ
ในระดับปฐมวัย

เนื้อหาดังนี้

1. แนวคิดพื้นฐานการให้บริการช่วยเหลือระยะแรกเริ่มสำหรับเด็กที่มี
ความต้องการพิเศษ

2. ความหมาย และความสำคัญของการให้บริการช่วยเหลือระยะแรกเริ่ม
โดยกล่าวถึงหลักเกณฑ์ในการพิจารณา เพื่อการช่วยเหลือระยะแรกเริ่ม
สำหรับเด็กที่มีความต้องการพิเศษ

3. กระบวนการให้บริการช่วยเหลือระยะแรกเริ่ม (Early Intervention: EI) 
โดยเก็บข้อมูล คัดกรองประเภทของเด็ก การประเมินความสามารถพื้นฐาน
การจัดทำแผนให้บริการเฉพาะครอบครัว หรือรายบุคคล การประเมิน
ความก้าวหน้า การติดตาม ประเมินผล และส่งต่อ

4. แนวทางการจัดกิจกรรมสำหรับครูปฐมวัย เพื่อส่งเสริมพัฒนาการทั้ง 4 ด้าน
ทั้งพัฒนาการด้านร่างกาย ด้านอารมณ์จิตใจ ด้านสังคม และด้านสติปัญญา

5. การส่งต่อเด็กที่มีความต้องการพิเศษจากบ้านสู่โรงเรียน หรือศูนย์การศึกษา
พิเศษ และโรงเรียนอนุบาลสู่โรงเรียนประถมศึกษา

เอกสารอ้างอิง

สำนักสนับสนุนสุขภาวะประชากรกลุ่มเฉพาะ. (2566). คู่มือการให้บริการช่วยเหลือในระยะแรกเริ่มและการศึกษาแบบเรียนรวมในระดับปฐมวัย สำหรับครู. สืบค้น 4 กันยายน 2566, จาก https://section09.thaihealth.or.th/?p=162194