คู่มือ “เล่นกลางโรค”

คู่มือ “เล่นกลางโรค” ฉบับนี้ ที่ถูกพัฒนาต่อยอดมาจาก คู่มือการส่งเสริมกิจกรรมทางกายในเด็กด้วยการเล่นตามแนวคิด ACP (Active Child Program) 
ที่ผสมผสานการเล่นของเด็กไทยและเด็กญี่ปุ่นเข้าไว้ด้วยกัน โดยคู่มือฉบับนี้ได้นำกิจกรรมการเล่นเพื่อเว้นระยะห่างทางสังคม (Social distancing play) ที่สมาคมกีฬาแห่งประเทศญี่ปุ่น (JSP0) ใช้ส่งเสริมกิจกรรมทางกายให้กับเด็กญี่ปุ่นในช่วง
การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 มาบรรจุไว้ เพื่อให้เป็นกิจกรรมทางเลือกในช่วงที่มีการแพร่ระบาดของโรคติดต่อ และมีกิจกรรมการเล่นปกติ (Normal play) สำหรับใช้ในสถานการณ์ทั่วไป 

ซึ่งหวังเป็นอย่างยิ่งว่าคู่มือ “เล่นกลางโรค” จะเป็นประโยชน์กับสถานศึกษาและถูกนำมาใช้เป็นเครื่องมือหนึ่งของสถานศึกษา เพื่อส่งเสริมกิจกรรมทางกาย
ให้กับเด็กนักเรียนในทุกโอกาส และทุก ๆ วันที่เด็กอยู่ที่โรงเรียน เพื่อช่วยพัฒนาเด็กให้มีพัฒนาการที่สมวัยทั้ง 5 มิติ ได้แก่ ด้านร่างกาย อารมณ์จิตใจ/สังคม
การสื่อสาร/ทักษะชีวิต การคิดวิเคราะห์ และทักษะทางวิชาการ

เอกสารอ้างอิง

ศูนย์พัฒนาความรู้ด้านกิจกรรมทางกายประเทศไทย (ทีแพค) สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล. (2566). คู่มือ ”เล่นกลางโรค”. สืบค้นเมื่อ 5 ตุลาคม 2566 จาก https://childimpact.co/learning/Social-Distancing-Play