แนวทางการจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบทวิ-พหุภาษา โดยใช้ภาษาแม่เป็นฐาน ในสถานพัฒนาเด็กปฐมวัยตามบริบททางสังคมที่หลากหลาย

การส่งเสริมพัฒนาการภาษาและการสื่อสารภาษาแม่แก่เด็กปฐมวัย
พร้อมกับจัดประสบการณ์ส่งเสริมการเรียนรู้ภาษาที่ 2 และภาษาที่ 3 ควบคู่กันไป
เป็นอีกแนวคิดสำคัญที่ส่งผลต่อศักยภาพในการเรียนรู้และการประกอบอาชีพ
ของเด็กในอนาคต ทั้งนี้การจัดประสบการณ์การเรียนรู้เพื่อส่งเสริมประสบการณ์
ทางภาษาสำหรับเด็กต้องอาศัยองค์ความรู้ที่ทันสมัยมีความเป็นสากล
และสอดคล้องกับสภาพสังคมไทย

ด้วยเหตุนี้ สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษาร่วมกับจุฬาลงกรณ์
มหาวิทยาลัย ดำเนินการศึกษาวิจัยแนวทางการจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบ
ทวิ-พหุภาษา โดยใช้ภาษาแม่เป็นฐานในสถานพัฒนาเด็กปฐมวัยตามบริบท
ทางสังคมที่หลากหลาย โดยหวังเป็นอย่างยิ่งว่าเอกสารฉบับนี้จะเป็นประโยชน์
ต่อครู ผู้ดูแลเด็ก พ่อแม่ ผู้ปกครอง และผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการดูแลและพัฒนา
เด็กปฐมวัยในหน่วยงานทุกสังกัด สามารถนำไปใช้ในการดูแล พัฒนา และจัดการ
เรียนรู้สำหรับเด็กปฐมวัยได้อย่างเหมาะสมและสอดคล้องกับแต่ละบริบท
เพื่อเสริมสร้างพัฒนาการที่ดีให้แก่เด็กปฐมวัยต่อไป

เอกสารอ้างอิง

สำนักนโยบายการพัฒนาเด็กปฐมวัย สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ. (2566). แนวทางการจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบทวิ-พหุภาษา โดยใช้ภาษาแม่เป็นฐานในสถานพัฒนาเด็กปฐมวัยตามบริบททางสังคมที่หลากหลาย. สืบค้นเมื่อ 16 ธันวาคม 2566 จาก https://www.onec.go.th/th.php/book/BookView/2027