การจัดกิจกรรมเสริมประสบการณ์การเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานที่มีผลต่อการคิดอย่างมีวิจารณญาณของเด็กปฐมวัย

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้มีการวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบการคิดอย่างมีวิจารณญาณของเด็กปฐมวัยก่อนและหลัง การจัดกิจกรรมเสริมประสบการณ์การเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการศึกษา คือ เด็กอนุบาลชาย – หญิง  อายุระหว่าง 5 – 6 ปี จำนวน 23 คน ที่กำลังศึกษาอยู่ในชั้นอนุบาลปีที่ 3  ภาคเรียนที่ 2  ปีการศึกษา 2563 ของโรงเรียนสาธิตละอออุทิศ จังหวัดกรุงเทพมหานคร การวิจัยนี้ เป็นกึ่งทดลองแบบกลุ่มเดียว ใช้แผนการจัดกิจกรรมเสริมประสบการณ์การเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน จำนวน 16 แผน ประกอบด้วย 4 ขั้นตอน คือ ทำความเข้าใจปัญหา ประเมินความรู้ สืบค้น สรุปความรู้ เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบประเมินการคิดอย่างมีวิจารณญาณของเด็กอนุบาล วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ โดยใช้ข้อมูลทางสถิติ หาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพโดยการวิเคราะห์เนื้อหา

ผลการศึกษาพบว่า หลังการทดลองเด็กอนุบาลมีค่าเฉลี่ยคะแนนการคิดอย่างมีวิจารณญาณสูงกว่าก่อนการทดลอง โดยด้านที่มีการเปลี่ยนแปลงมากที่สุด คือ การจัดระบบข้อมูล รองลงมา คือ ด้านการลงข้อสรุป ด้านการระบุปัญหา และการรวบรวมข้อมูล

เอกสารอ้างอิง

  • ยศวดี  วัณณกุล และปัทมาวดี  เล่ห์มงคล. (2564). การจัดกิจกรรมเสริมประสบการณ์การเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน ที่มีผลต่อการคิดอย่างมีวิจารณญาณของเด็กปฐมวัย. วารสารการจัดการทางการศึกษาปฐมวัย, 3 (1), 29-50.